0610367888  0907099666  

cancer
มะเร็งคอ

  โรคมะเร็งกล่องเสียงคืออะไร?

  โรคมะเร็งกล่องเสียง หมายถึง เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวเยื่อเมือกของกล่องเสียง โรคมะเร็งกล่องเสียงที่พบบ่อยที่สุดคือโรคมะเร็งกล่องเสียงชนิด squamous cell carcinoma


  อัตราการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงสูงแค่ไหน

  อัตราการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงนั้นประมาณ 1% - 5% ของมะเร็งทั้งหมดในร่างกาย ในแผนกหู คอ จมูก มะเร็งกล่องเสียงจะอยู่ในอันดับที่สาม รองลงมาจากโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกและโรคมะเร็งโพรงจมูก โรคมะเร็งไซนัส มักเกิดในช่วงอายุ 50 - 70 ปี พบในเพศชายค่อนข้างมาก



โรคมะเร็งคอ,อาการของโรคมะเร็งคอ,การวินิจฉัยโรคมะเร็งคอ,การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งคอ,โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว





  ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงมีอะไรบ้าง?

  1. การสูบบุหรี่ : การเผาไหม้ของบุหรี่สามารถทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง อีกทั้งควันของบุหรี่จะทำให้ขนพัดโบกหยุดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวช้าลง เยื่อเมือกมีเลือดคั่งและมีถุงน้ำ ทำให้เยื่อบุผิวหนาขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเซลล์ ( squamous metaplasia ) กลายเป็นพื้นฐานการก่อมะเร็ง

  2. ดื่มสุรามากเกินไป : จะไปกระตุ้นเยื่อเมือกเป็นเวลานาน ทำให้กลายเป็นมะเร็งได้

  3. อาการอักเสบเรื้อรัง เช่น คออักเสบเรื้อรังหรือทางเดินหายใจอักเสบ

  4. มลพิษทางอากาศ : การสูดดมอากาศเป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และฝุ่นควันจากอุตสาหกรรมการผลิตเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงได้ง่าย

  5. การติดเชื้อไวรัส : เชื้อไวรัสสามารถทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเซลล์ผิดปกติ ไวรัสยังสามารถถ่ายโอนยีนทางพันธุกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในคนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งการติดเชื้อ HPV-16 และ 18 จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง

  6. รอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง : บริเวณกล่องเสียงมีอาการผิวหนังหนาแข็งและมีเนื้องอกดีเกิดขึ้น การเกิดเนื้องอกกล่องเสียงจากเชื้อ HPV ซ้ำไปซ้ำมาสามารถเปลี่ยนเป็นรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งได้

  7. การฉายรังสี : การฉายรังสีก้อนบวมบริเวณคอสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

  8. ฮอร์โมนเพศ : ผลการทดลองที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงจะมีเซลล์ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor, ER ) เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


  รูปแบบการแพร่กระจายและลุกลามของโรคมะเร็งกล่องเสียงมีอะไรบ้าง?

  1. การแพร่กระจายโดยตรง : โรคมะเร็งกล่องเสียงระยะสุดท้ายมักจะแพร่กระจายโดยแทรกซึมลงไปในชั้นเยื่อเมือก

  2. การลุกลามไปยังน้ำเหลือง : ตำแหน่งที่มีการลุกลามบ่อยจะอยู่ที่บริเวณหลอดเลือดแดงส่วนบนของคอที่แยกไปยังต่อมน้ำเหลือง ต่อมาจะแพร่กระจายขึ้นไปตามหลอดเลือดดำในลำคอและบริเวณส่วนล่างของต่อมน้ำเหลือง

  3. การแพร่กระจายทางหลอดเลือด : สามารถแพร่กระจายไปตามการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น



โรคมะเร็งคอ,อาการของโรคมะเร็งคอ,การวินิจฉัยโรคมะเร็งคอ,การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งคอ,โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว





  วิธีการตรวจวินิจฉัยมีอะไรบ้าง

  1. การตรวจบริเวณคอ

  2. การตรวจโดยส่องกล้องดูคอหอย

  3. การตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์

  (1) การตรวจเอกซเรย์

  (2) การตรวจโดย CT หรือ MRI

  (3) การตรวจอัลตราซาวด์


  โรคมะเร็งกล่องเสียงกับแพทย์แผนจีน

  จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีเดียว “การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถใช้ผ่านหลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การให้ยาพ่นจีน การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น แล้วจึงประสานกับวิธีการฟื้นฟูร่างกายแบบแพทย์แผนจีน ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบการบูรณาการในระดับแถวหน้า


โรคมะเร็งคอ,อาการของโรคมะเร็งคอ,การวินิจฉัยโรคมะเร็งคอ,การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งคอ,โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว





  ยังสามารถใช้วิธีใดได้อีกบ้าง?

  1. การผ่าตัด : การผ่าตัดเป็นวิธีทางเลือกอันดับแรกของโรคมะเร็งกล่องเสียง หลักๆ แล้วจะประกอบด้วยการผ่าตัดกล่องเสียงทั้งหมด การผ่าตัดกล่องเสียงบางส่วน การผ่าตัดกล่องเสียงในแนวดิ่ง เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดย่อมแตกต่างกันโดยผู้เชี่ยวชาญจะยึดตามสภาพอาการเป็นหลัก

  2. การฉายรังสี : การฉายรังสีเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงระยะที่ 1 หรือผู้ที่มีสภาพร่างกายค่อนข้างอ่อนแอและไม่เหมาะกับการผ่าตัด รวมทั้งผู้ที่ฉายรังสีก่อนผ่าตัด ซึ่งหลังจากการฉายรังสีแล้วสามารถเปล่งเสียงได้

  3. การใช้ยาเคมี : สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียงระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยทั่วไปจะทำการให้ยาเคมีหรือใช้การฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมี

  4. เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก : เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก ( เช่น เทคโนโลยีการทำความร้อน เทคโนโลยีการทำยความเย็น เทคโนโลยีแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด เทคโนโลยีการฉายแสงเลเซอร์ เป็นต้น ) สามารถยกระดับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งเพิ่มสมรรถนะของกล่องเสียงไว้ได้ ซึ่งในปัจจุบันอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงและการเพิ่มสมรรถนะของกล่องเสียงไว้ได้มีถึงประมาณ 70%

  ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวระบุว่า สำหรับมะเร็งกล่องเสียงไม่สามารถเน้นเทคนิคแบบเฉพาะตำแหน่งหรือใช้วิธีการเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่งต้องอาศัยระยะอาการของผู้ป่วย ประเภทของเนื้อเยื่อ พฤติกรรมทางชีววิทยาของก้อนมะเร็ง รวมทั้งสภาพร่างกาย เพื่อบูรณาการจากหลายแขนง เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมี การแพทย์แผนจีน เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือด เป็นต้น จึงจะได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


  การดูแลพยาบาลหลังการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงมีอะไรบ้าง

  (1) เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวหลังจากผ่าตัด จัดให้อยู่ในท่ากึ่งนอน เพื่อให้หายใจและระบายของเหลวได้ดีขึ้น

  (2) สามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณคอ เพื่อสมานแผล

  (3) ควรระวังให้การระบายของเหลวไหลคล่อง ป้องกันไม่ให้แผ่นผิวหนังตาย ควรสังเกตเป็นประจำหรือบันทึกลักษณะของของเหลวและปริมาณ เมื่อพบอาการผิดปกติควรแจ้งแพทย์ทันที

  (4) ผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีและให้ยาเคมีหลังการผ่าตัด ควรได้รับการดูแลพยาบาลตามกฎระเบียบ

  (5) ดูแลสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง



โรคมะเร็งคอ,อาการของโรคมะเร็งคอ,การวินิจฉัยโรคมะเร็งคอ,การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งคอ,โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว





  สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง

  เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดจะใช้รูปแบบการให้ยาทางหลอดเลือดหรืออุดตันหลอดเลือด การให้ยาเข้าไปทางหลอดเลือดแดง จะใช้ระยะทางที่สั้นที่สุดในการไปให้ถึงบริเวณก้อนมะเร็ง ยกระดับความเข้มข้นของตัวยาเฉพาะส่วน เพิ่มประสิทธิภาพให้นานขึ้น และยังลดการทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงอีกด้วย การอุดหลอดเลือดคือการนำของเหลวหรือของแข็งอุดหลอดเลือดเฉพาะเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงก้อนมะเร็ง หลอดเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนมะเร็งจะถูกอุดตัน ตัดทางสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงมะเร็ง จึงบรรลุเป้าหมาย เมื่อผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงรับการดูแลแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดก่อนการผ่าตัด ก็จะสามารถทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลง ลดขอบเขตการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดราบรื่น สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ สามารถดูแลแบบประคับประคอง ลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย ยืดอายุให้ยาวนานขึ้น

  เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดเป็นวิธีหนึ่งสำหรับมะเร็งกล่องเสียง ซึ่งมีข้อดีคือ มีความปลอดภัย ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะในร่างกาย เพิ่มสมรรถนะของกล่องเสียงให้เป็นปกติได้ เป็นต้น แน่นอนว่าเทคนิคสำหรับโรคมะเร็งกล่องเสียงยังมีอีกหลายวิธีให้เลือก เทคนิคแบบเฉพาะจุดผ่านหลอดเลือดก็ไม่ได้เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงทุกคน ด้วยเหตุนี้ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงแต่ละคน ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก่อนกำหนดแผนการต่างๆ แพทย์จะดูจากสภาพของผู้ป่วยที่แน่ชัด เช่น ประเภท ระยะอาการ มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ เป็นต้น เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

  โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแห่งประเทศจีนได้ตั้งสำนักงานขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทุกปีสำนักงานจะรับผู้ป่วยชาวต่างชาติและส่งตัวมายังโรงพยาบาลจำนวนมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลและฟื้นตัวมาจากหลายประเทศ เช่น ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย เป็นต้น หากท่านมีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามได้ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือไปยังสำนักงานของเราที่อยู่ในประเทศของท่าน เพื่อสอบถามและแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว คำถามของท่านจะได้รับคำตอบที่น่าพอใจแน่นอน

  เมื่อเดินทางมายังที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว นอกจากผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดแผนการของท่านโดยเฉพาะแล้วนั้น ในระหว่างนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจะดูจากสภาพร่างกาย ความแตกต่างด้านความเคยชินในการบริโภค เพื่อจัดรายการอาหารที่มีสารอาหารให้กับผู้ป่วย อาหารทางแพทย์แผนจีน การจัดอาหารการกินที่เหมาะสม จะช่วยยกระดับสมรรถนะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ที่นี่อาการของผู้ป่วยจะได้รับการควบคุมแอย่างมีประสิทธิภาพ

คำหลัก: โรคมะเร็งคอ,อาการของโรคมะเร็งคอ,การวินิจฉัยโรคมะเร็งคอ,การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งคอ,โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว

ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

ชื่อ นามสกุล *

เลือกประเภทโรค *

เบอร์โทรศัพท์ *

มีผลการตรวจหรือไม่ *

ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
เข้าร่วมงานสัมมนา

*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น