- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ อาการของโรคมะเร็งองคชาต
- ■ การตรวจวินิจฉัยมะเร็งองคชาต
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งองคชาต
โรคมะเร็งองคชาตคืออะไร
มะเร็งองคชาต เป็นหนึ่งในเนื้องอกร้ายที่พบบ่อยในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มะเร็งองคชาตในระยะแรกจะเกิดเป็นเนื้องอกชนิด papillary carcinoma หลังจากนั้นเป็นปีจะลุกลามเป็นเซลล์มะเร็งชนิด Squamous cell carcinoma โดยมีอาการสำคัญคือ หนังหุ้มปลายยาวเกินไป หนังหุ้มปลายตีบ หนังหุ้มปลายและส่วนหัวของลึงค์อักเสบ องคชาตมีแผลเปื่อย
อัตราการเกิดโรคมะเร็งองคชาตสูงแค่ไหน
โรคมะเร็งองคชาตมักเกิดในผู้ชายสูงอายุ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 60 ปี อายุยิ่งมาก โอกาสที่จะเกิดโรคก็ยิ่งมากตามไปด้วย ซึ่งเมื่ออายุประมาณ 70 ปี อัตราการเกิดโรคจะสูงที่สุด และโรคมะเร็งชนิดนี้บางครั้งยังเกิดกับผู้ชายที่อายุยังน้อยได้อีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งองคชาตมีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งองคชาตนั้นยังไม่ค่อยชัดเจน แต่จากการตรวจรวมทั้งสถิติตัวเลขพบว่า การเกิดโรคมะเร็งองคชาตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอาการหนังหุ้มปลายตีบหรือหนังหุ้มปลายยาวเกินไป
โรคมะเร็งองคชาตมีอาการอะไรบ้าง?
อาการมะเร็งองคชาตสามารถแบ่งตามลักษณะรูปร่างได้ 3 ประเภท คือ มะเร็งปฐมภูมิ มะเร็งชนิด papillary carcinoma และมะเร็งชนิดรุกล้ำ
1. มะเร็งปฐมภูมิ : มักจะเกิดบริเวณส่วนหัวขององคชาต เป็นฝ้าสีแดงนูนขึ้นมาเล็กน้อย มีขอบเขตค่อนข้างชัดเจน ผิวหนังด้านบนลอกหลุดหรือเน่าเปื่อย
2. มะเร็งชนิด papillary carcinoma : เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งองคชาต ตอนแรกจะเป็นก้อนเนื้อลักษณะคล้ายหัวนม พื้นผิวมีตุ่มเล็กๆ ผิวหนังไม่เรียบ หรือมีเกล็ดร่วง หรือเน่าเปื่อย
3. มะเร็งชนิดรุกล้ำ : ในระยะแรกจะมีฝ้าแบบโรคผิวหนังอักเสบเป็นหลัก มักเกิดขึ้นบริเวณร่องหัวองคชาต บริเวณอื่นๆ ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน จะมีตุ่มเล็กๆ เกิดที่ผิวด้านบน เมื่ออาการพัฒนาไปอีกก็จะมีแผลเปื่อย ซึ่งแผลเปื่อยมักมีของเหลวลักษณะเป็นหนองหรือเป็นเลือด
การตรวจโรคมะเร็งองคชาตด้วยตนเองทำได้อย่างไร?
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแนะนำว่า ผู้ชายสามารถตรวจองคชาตด้วยตนเองได้ขณะอาบน้ำ จะได้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งได้เร็ว วิธีตรวจคือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หมุนองคชาตทั้งสองด้านเบาๆ หากรู้สึกว่าบวม เจ็บปวดเล็กน้อย หรือมีความรู้สึกหน่วงบริเวณท้องและต้นขา ก็ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งองคชาตมีอะไรบ้าง?
1. การตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์
(1) การถ่ายภาพรังสีระบบน้ำเหลือง : เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยการลุกลามของโรค โดยปกติไม่ได้ใช้เป็นการตรวจร่างกายประจำ โดยเลือกฉีดสีเข้าไปบริเวณหลอดน้ำเหลืองหลังเท้า องคชาต หรือหลอดน้ำเหลืองบริเวณสายโยงอัณฑะ หากมีการลุกลาม ก็จะแสดงให้เห็นว่าต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ ไมสมบูรณ์ หลอดน้ำเหลืองเปลี่ยนรูป และมีการอุดตัน เป็นต้น
(2) การตรวจอัลตราซาวด์ : สามารถยืนยันว่ามีลุกลามไปที่ตับและช่องท้องหรือไม่
(3) การตรวจ CT และ MRI : ตรวจเยื่อบุช่องท้องและอวัยวะอื่นๆ ว่ามีการลุกลามหรือไม่
2. วิธีตรวจอื่นๆ
หากส่วนที่เกิดโรคเป็นเพียงก้อนแข็ง ยังไม่มีการแตกเป็นแผล เช่น มีหนังหุ้มปลายหุ้มอยู่ ควรผ่าตัดรอบหนังหุ้มปลายก่อน เพื่อเปิดตำแหน่งที่เป็นโรค และเก็บชิ้นเนื้อเยื่อบางส่วนส่งตรวจทางพยาธิวิทยา จึงสามารถตรวจวินิจฉัยได้แน่ชัด ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อเป็นหลักฐานสำคัญในการวินิจฉัย การตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งปฐมภูมิสามารถระบุประเภทเนื้อเยื่อก้อนมะเร็งและแบ่งระดับทางพยาธิวิทยาได้ ส่วนการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ สามารถวินิจฉัยว่ามีการลุกลามหรือไม่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแบ่งระยะของโรคและกำหนดแผนการ
การตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งองคชาตมีความหมายอย่างไร?
การตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยแบบมาตรฐานในการตรวจเซลล์มะเร็งองคชาต สำหรับเนื้องอกขนาดเล็กหรืออยู่เฉพาะส่วน สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ การตรวจชิ้นเนื้อมีประโยชน์ในการแบ่งระยะของโรคและแบ่งประเภททางเนื้อเยื่อวิทยา สำหรับจุดเกิดโรคขนาดเล็ก ก็สามารถใช้การตรวจชิ้นเนื้อวินิจฉัยระดับความลึกที่รุกล้ำ สำหรับจุดเกิดโรคค่อนข้างใหญ่ อาจจะวินิจฉัยระดับการรุกล้ำจากการตรวจร่างกายและการตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์ได้ง่ายกว่า ข้อมูลที่กระจัดกระจายเหล่านี้เมื่อนำมารวมกันจะมีส่วนช่วยวินิจฉัยระดับของโรครวมทั้งวินิจฉัยความเป็นไปได้ในการลุกลามซึ่งยังไม่แสดงอาการชัดเจน ( เกี่ยวกับการลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง )
รูปแบบการแพร่กระจายของมะเร็งองคชาตเป็นอย่างไร?
มะเร็งองคชาตเป็นเนื้องอกร้ายที่คุกคามสุขภาพของผู้ชายอย่างรุนแรง การตรวจพบเร็ว ดูแลเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่เช่นนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะลุกลามและแพร่กระจายได้ รูปแบบการแพร่กระจายของมะเร็งองคชาตหลักๆ แล้วมีสามประเภท ดังต่อไปนี้
1. การกระจายเฉพาะส่วน : ตั้งแต่ส่วนหัวของลึงค์ไปถึงส่วนฐาน สามารถรุกเข้าพังผืดองคชาต กล้ามเนื้อฟองน้ำ และแพร่กระจายไปถึงผนังหน้าท้อง ท่อปัสสาวะ
2. การลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง : มีการลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบทั้งสองข้างเป็นอันดับแรก
3. การลุกลามผ่านทางหลอดเลือด : ส่วนใหญ่จะลุกลามไปที่ปอด ตับ รองลงมาคือกระดูก สมอง
เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งองคชาตมีอะไรบ้าง
1. การผ่าตัด : สำหรับการดูแลโรคมะเร็งองคชาตในระยะแรก เนื่องจากก้อนมะเร็งระยะแรกค่อนข้างเล็ก ไม่มีการลุกลามไปที่อื่น สามารถเน้นวิธีการนี้เป็นหลัก
2. การใช้ยาเคมี : การให้ยาเคมีให้ประสิทธิภาพค่อนข้างดีสำหรับมะเร็งองคชาต ขณะเดียวกันยังสามารถใช้ร่วมกับการผ่าตัด เพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ได้
3. การฉายรังสี : เป็นวิธีการเสริมหลังการผ่าตัด สามารถยกระดับประสิทธิภาพให้สูงยิ่งขึ้น
4. เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก : เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก เป็นวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัด เลือดออกน้อย มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็ง ป้องกันการลุกลามและการกำเริบของเซลล์มะเร็ง
แพทย์แผนจีน
จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากบูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เพียงวิธีเดียว “ การแบบบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน ” สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การดูดยาจีนละออง การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบการบูรณาการในระดับแถวหน้า
การดูแลพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งองคชาตหลังการผ่าตัดมีด้านใดบ้าง?
ใน 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
ใน 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด เป็นช่วงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายที่สุด เช่น มีเลือดออกจากบาดแผล การติดเชื้อ เป็นต้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการแข็งตัวขององคชาต การใช้แรงเบ่งถ่ายอุจจาระมากเกินไป ลงจากเตียงเร็วเกินไป เป็นต้น
การดูแลด้านโภชนาการ
ในด้านอาหาร ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารที่มีสังกะสี ( เนื้อหอยนางรม เนื้อวัว ) อาหารที่มีอาร์จินีน ( arginine ) ( ปลาไหล ปลาดุก ปลิงทะเล ) อาหารที่มีแคลเซียม ( กุ้งฝอยตากแห้ง ถั่วเหลือง ) เป็นต้น
การป้องกันบาดแผลติดเชื้อ
การป้องกันบาดแผลติดเชื้อ นอกจากจะใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ยังควรล้างฝีเย็บทุกวัน ขณะที่คนในครอบครัวช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่าย ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัสสาวะและอุจจาระทำให้ผ้าพันแผลสกปรก หากปัสสาวะไปโดนผ้าพันแผลต้องรีบเปลี่ยนทันที
การดูแลหลังออกจากโรงพยาบาล
หลังออกจากโรงพยาบาล ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งองคชาตจากการผ่าตัดคือ สภาพจิตใจ เนื่องจากการผ่าตัดทำให้รูปร่างภายนอกขององคชาตเปลี่ยนไป ขนาดความยาวสั้นลง ทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยแย่ลง ขาดความมั่นใจในเรื่องของเพศ สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดองคชาตออกไปทั้งหมด คู่สมรสสามารถใช้การสัมผัสทางกาย เช่น การลูบ การกอด การจูบ เป็นต้น เพื่อตอบสนองทางด้านจิตใจได้
สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น