- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ อาการของโรคมะเร็งอัณฑะ
- ■ การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะ
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งอัณฑะ
โรคมะเร็งอัณฑะคืออะไร?
มะเร็งอัณฑะเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อลูกอัณฑะ เป็นเนื้องอกร้ายที่เกิดจากเซลล์ลูกอัณฑะกลายเป็นมะเร็ง มะเร็งอัณฑะโดยหลักแล้วจะแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ มะเร็งชนิดเซมิโนมา ( seminoma ) และมะเร็งชนิดนอนเซมิโนมา ( non-seminoma )
อัตราการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะและอัตราการอยู่รอดเป็นอย่างไร?
โรคมะเร็งอัณฑะนั้นพบเห็นได้น้อย อัตราอยู่ที่ประมาณ 2% ของเนื้องอกร้ายทั้งหมดในเพศชาย โดยหลักแล้วกลุ่มผู้ป่วยเพศชายจะอยู่ในช่วงอายุ 20 - 40 ปี แต่ผลลัพธ์ทางการแพทย์สำหรับมะเร็งอัณฑะนั้นมีความเด่นชัดมาก อัตราการอยู่รอด 5 ปี สูงถึง 95% หรือมากกว่านั้นเลยทีเดียว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งอัณฑะมีอะไรบ้าง?
1. การบริโภค : การรับประทานอาหารพืชผักและสัตว์เลี้ยงที่มีการฉีดด้วยฮอร์โมนเป็นเวลานานนั้นเป็นอันตรายมากที่สุด
2. ด้านอุปนิสัย : จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่มีอุปนิสัยไม่ร่าเริง มีความเครียดและความกดดันเป็นเวลานานจะเป็นโรคมะเร็งอัณฑะได้ง่าย
3. ด้านสภาพแวดล้อม : มลพิษทางอากาศ การแผ่รังสีของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ( เช่น คอมพิวเตอร์ เตาไฟฟ้า ไมโครเวฟ มือถือ ) รวมไปถึงเสียงรบกวน เป็นต้น ต่างก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
4. ปัจจัยทางพันธุกรรม : จากการวิจัยพบว่า การเกิดโรคมะเร็งอัณฑะนั้นมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม
สัญญาณเตือนในระยะแรกของโรคมะเร็งอัณฑะมีอะไรบ้าง?
1. เจ็บปวดที่ลูกอัณฑะอย่างเฉียบพลัน
2. มีบุตรยาก
3. มีความรู้สึกหนักที่ลูกอัณฑะ
4. ลูกอัณฑะบวมโต
5. ปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
6. ลูกอัณฑะแข็ง
7. เต้านมโตขึ้นคล้ายผู้หญิง
อันตรายของโรคมะเร็งอัณฑะมีอะไรบ้าง?
1. มะเร็งอัณฑะจะทำให้อสุจิตาย ไม่มีอสุจิ จนทำให้สูญเสียความสามารถในการมีบุตรได้ อีกทั้งอาจจะนำเชื้อโรคที่อักเสบไปติดคู่สมรสอีกด้วย ทำให้เกิดโรคทางนรีเวชได้
2. มะเร็งอัณฑะจะทำให้อสุจิและไตเสียหาย ปวดเอว ปวดหลัง และแก่เร็ว
3. มะเร็งอัณฑะจะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง หรือแม้กระทั่งสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งอัณฑะมีอะไรบ้าง?
1. การตรวจโดยห้องปฏิบัติการ : โดยหลักจะเป็นการตรวจสอบเซรั่ม β-HCG AFP และ LDH เพราะสารบ่งชี้มะเร็งในเซรั่มเหล่านี้มีความหมายที่สำคัญต่อร่างกายผู้ป่วย การติดตามผลและการวินิจฉัยโรคเป็นอย่างมาก
2. การตรวจโดยภาพถ่ายทางการแพทย์ : การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจ CT และ MRI บริเวณท้อง การถ่ายภาพรังสีหลอดน้ำเหลือง การตรวจ radionuclide scanning รวมไปถึงการเอ็กซเรย์บริเวณหน้าอก ซึ่งต่างมีส่วนช่วยในการตรวจวินิจฉัยว่ามีการลุกลามหรือไม่
3. การตรวจชิ้นเนื้อ : การตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีการตรวจว่ามีมะเร็งอยู่แน่นอนหรือไม่
เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งอัณฑะแบบดั้งเดิม
1. การผ่าตัด : เป็นการผ่าตัดอัณฑะส่วนหนึ่งออกไปผ่านขาหนีบ
2. การใช้ยาเคมี : โดยปกติแล้วจะใช้ยาเคมีหลังการผ่าตัด เป็นการใช้ยาต้านมะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกาย ถือเป็นวิธีการแบบเสริม
3. การฉายรังสี : เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงมาทำลายเซลล์มะเร็ง จนทำให้เนื้องอกหดตัวลง ถือเป็นการใช้เฉพาะส่วน เพราะจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งบริเวณที่ฉายรังสีไปเท่านั้น
แพทย์แผนจีน
จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า แพทย์แผนจีนของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว มีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง ทำการโดยผ่านรูปแบบการทานยาหรือสวนยาทางหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถควบคุมการพัฒนาของมะเร็ง ยกระดับสมรรถภาพภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะ ลดผลข้างเคียงจากการฉายรังสีและการใช้ยาเคมี นอกจากนี้ โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวยังได้บูรณาการข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เป็นรูปแบบแบบบูรณาการในระดับแถวหน้า
การดูแลฟื้นฟูหลังการผ่าตัดทำได้อย่างไรบ้าง?
1. การดูแลด้านอาหาร
หลังการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง โปรตีนสูงและวิตามินสูงอย่างเหมาะสม อีกทั้งห้ามสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้น
2. การดูแลด้านจิตใจ
ควรช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความหนักแน่นและความเชื่อมั่นในการเผชิญหน้ากับโรคและการเอาชนะโรค หลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบ ส่วนอีกด้านหนึ่งต้องเน้นการบริหารทางด้านจิตใจของผู้ป่วย คอยดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด คอยฟังผู้ป่วยระบายอย่างอดทน
3. การดูแลด้านการดำรงชีวิต
ควรดูแลความสะอาดของผิวหนัง โดยจะต้องใช้น้ำอุ่นเช็ดผิวหนังทุกวัน ต้องพลิกตัวเป็นประจำ นวดมือและเท้าให้ผู้ป่วย
4. ใส่ใจสภาพแวดล้อม
ควรดูแลความสะอาด ความสงบ และอากาศถ่ายเทของห้องนอน อีกทั้งอุณหภูมิภายในห้องและความชื้นต้องเหมาะสมอีกด้วย
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น