ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เอาชนะโรคมะเร็งได้สำเร็จ เนื้องอกมีขนาดเล็กลง
เช้าวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ปี2014 คุณประจักษ์ในวัย53ปีเริ่มมีอาการไอและมีเสมหะ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เขาเฉลียวใจเลยสักนิด ต่อมาหลังจากนั้นประมาณ2เดือน เขารู้สึกมีอาการหายใจติดขัดและน้ำหนักตัวลดลงไปอย่างรวดเร็วถึง10กิโลกรัม จากผลการตรวจเช็คร่างกายของโรงพยาบาลที่ไทยระบุว่าบริเวณปอดด้านซ้ายของเขามีก้อนเนื้อ มีภาวะน้ำท่วมปอดและยังพบเซลล์มะเร็งจากการเจาะระบายน้ำออกมาจากบริเวณปอดอีกด้วย
คุณประจักษ์ทราบดีว่าผู้ป่วยที่ทำคีโมทั่วร่างกายจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมากและอาจไม่ได้ผลการที่ดีนัก เขาคิดว่าวิธีเหล่านี้คงไม่เหมาะที่จะใช้กับตนเอง เขาจึงได้ลงมือค้นหาแนวทางอื่นๆจากเว็บไซต์ด้วยตนเอง เมื่อเขาพบเทคนิคใหม่ โดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องให้คีโมหรือฉายแสงทั่วร่างกายทั้ง 18 วิธีของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแสตมฟอร์ด แล้วเขาจึงรีบตัดสินใจมาโดยทันที
ในวันที่ 25กรกฎาคม เป็นครั้งแรกที่คุณประจักษ์เดินทางมาที่โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแสตมฟอร์ด ในตอนนั้นนอกจากเขาจะมีอาการไออย่างรุนแรง อาการหายใจติดขัด อาการปวดบริเวณอกและไหล่เนื่องจากมีน้ำท่วมในช่องอก ทุกคืนเขาต้องกินยาแก้ปวดเพื่อให้สามารถนอนหลับได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลุกลามไปยังบริเวณตับอีกด้วย จึงสรุปได้ว่าเขาเป็นมะเร็งปอดด้านซ้าย (ระยะ4) มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดและตับ จากอาการของคุณประจักษ์ที่กล่าวมาในเบื้องต้นทำให้ทีมแพทย์ MDTต้องประชุมกันอย่างเร่งด่วนจนได้แผนการเริ่มแรกออกมา ในวันที่ 27 กรกฎาคม คุณประจักษ์เข้ารับการทำคีโมเฉพาะจุดเป็นครั้งแรก และได้ทำความเย็นกับก้อนมะเร็งบริเวณปอดอีกครั้งในวันที่ 10 สิงหาคม
คุณประจักษ์ และ ทีมพยาบาล
โดยปกติคุณประจักษ์มักจะเดินทางมาคนเดียว แต่เขากลับไม่เคยต้องกังวลเลยสักนิด เพราะเรามีคุณหมอและพยาบาลที่ดูแลด้วยความใส่ใจและอบอุ่นเสมอ
ข้อแตกต่างของการให้คีโมทั่วร่างกายกับการให้คีโมเฉพาะจุดคือ การทำคีโมเฉพาะจุดจะให้คีโมเฉพาะจุดที่มีก้อนมะเร็งเท่านั้น ดังนั้นความเข้มข้นของยาที่เข้าไปถึงตัวมะเร็งจะมีความเข้มข้นมากกว่าวิธีให้คีโมแบบทั่วไปถึง80เท่าและแทบไม่มีผลข้างเคียงอะไรเลย การทำคีโมเฉพาะจุดเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด เป็นเทคนิคแบบบาดแผลเล็ก ลดความเจ็บปวด ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอเป็นอย่างยิ่ง “หลังจากที่ผมทำคีโมเฉพาะจุดก็มีอาการเบื่ออาหารเพียงไม่กี่วันเท่านั้น แต่ตอนนี้เป็นปกติแล้วน้ำหนักขึ้นมาตั้ง 5 กิโลกรัม” คุณประจักษ์ยังกล่าวอีกว่า การทำคีโมเฉพาะจุดผลข้างเคียงน้อยมาก ระหว่างขั้นตอนทางการแพทย์นั้น ร่างกายก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
ขณะที่สัมภาษณ์คุณประจักษ์ในวันที่16พฤศจิกายนนั้น คุณประจักษ์ได้ทำคีโมเฉพาะจุดมาแล้ว 6 ครั้ง ทำความเย็น 1 ครั้งและเจาะน้ำเพื่อระบายน้ำบริเวณทรวงอก “ระหว่างขั้นตอนต่างๆ ผมได้ทำ CT ไป 3 ครั้ง ผลการตรวจทุกครั้งปรากฏก้อนมะเร็งค่อยๆมีขนาดเล็กลง และการตรวจในครั้งนี้ปรากฏว่ามะเร็งได้หายไปแล้ว” คุณประจักษ์เล่าว่า “ตอนนี้เหลือแค่อาการไอเล็กน้อย แต่ระบบหายใจตอนนี้เป็นปกติแล้ว บริเวณอกและไหล่ก็ไม่ปวดแล้วไม่จำเป็นต้องกินยาแก้ปวดอีกต่อไป เดิมทีเคยนึกว่าต้องต่อสู้กับมันสักหนึ่งปีถึงจะหาย แต่นี่เพียงแค่สามเดือนก็หายแล้ว” คุณหมอจางแพทย์ประจำตัวคุณประจักษ์เล่าว่า ดูจากผลการตรวจ CT ของผู้ป่วยแล้วพบว่า ก้อนมะเร็งถูกควบคุมไว้หมดแล้ว แต่เขายังคงต้องกลับมาเช็คร่างกายทุกๆสามเดือนและทานยาควบคู่กันไปด้วย
ในช่วงบ่ายของวันที่สัมภาษณ์ คุณประจักษ์ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อาหารเพื่อสุขภาพที่ทางโรงพยาบาลจัดขึ้น ทำให้เขาทราบว่าสาเหตุหนึ่งที่ตนเองเป็นมะเร็งนั้นมาจากการที่เมื่อก่อนรับประทานอาหารที่เป็นของทอดและย่างเป็นจำนวนมาก ในคาบเรียนนั้นคุณประจักษ์ตั้งใจฟังและจดบันทึกเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเขาหวังว่าจะนำเกร็ดความรู้เหล่านี้มาบอกต่อแก่คนในครอบครัว
ภาพก่อนวันคริสต์มาสในปี 2014 นายแพทย์เฉินปิงรองผู้อำนวยการโรงพยาบาล
เดินทางมามอบของขวัญให้แก่คุณประจักษ์ด้วยตนเอง
ภาพหลังจากการทำคีโมเฉพาะจุด 4ครั้ง(วันที่22 ตุลาคม) ก้อนมะเร็งบริเวณปอดมีขนาดเล็กลง
ภาพหลังจากการทำคีโมเฉพาะจุด 6ครั้ง(วันที่22 ตุลาคม) ก้อนมะเร็งบริเวณปอดได้หายไปทั้งหมด
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น