- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งทวารหนัก
- ■ อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งทวารหนัก
มะเร็งทวารหนักคือเนื้องอกร้ายที่เกิดจากเซลล์ในทวารหนัก มักจะเกิดในส่วนของรูทวารหรือผิวหนังขอบทวาร มะเร็งทวารหนักในระยะแรกจะมีอาการอุจจาระเป็นเลือด เจ็บปวด ระบบการขับถ่ายเปลี่ยนไปและรู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอมบริเวณทวาร มีอาการคล้ายกับริดสีดวงทวาร โรคแผลปริที่ขอบทวาร เป็นต้น ซึ่งง่ายต่อการวินิจฉัยผิด ดังนั้นแล้วผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจ และสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก
วิธีการวินิจฉัยมะเร็งทวารหนัก
1.การตรวจทวารหนัก : การตรวจทวารหนักสามารถแบ่งเป็นการตรวจภายนอกทวารและการตรวจภายในทวารสองประเภท หากมีอาการอุจจาระเป็นเลือดหรือมีก้อนเนื้อสามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้
(1) การตรวจทวารภายนอก : หลังจากใส่ถุงมือ ใช้นิ้วชี้สัมผัสกับบริเวณโดยรอบของทวารเพื่อตรวจดูว่ามีของแข็ง บวม และเจ็บหรือไม่ รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และตรวจผิวหนังรอบทวารว่ามีฝีหรือรอยเส้นหรือไม่
(2) การตรวจภายในทวาร (การตรวจลำไส้ตรง) : เมื่อสวมถุงมือเรียบร้อย ทายาหล่อลื่นที่นิ้วชี้และบริเวณทวารหนัก จากนั้นสอดนิ้วชี้เข้าไปในลำไส้ตรง หากพบว่ามีอาการอุจจาระเป็นเลือด มีก้อนเนื้อ เป็นต้น ควรรีบไปโรงพยาบาลทำการตรวจภายในทวาร
2. การส่องกล้อง (Endoscopy) : วิธีนี้สามารถตรวจความเปลี่ยนแปลงในทวารหนักหรือลำไส้ตรงได้ เมื่อต้องทำการตรวจเหล่านี้ คุณสามารถนอนตะแคงแล้วดึงเข่าให้งอขึ้นมาถึงหน้าอกหรือนอนฟุบกับโต๊ะแล้วโค้งไปข้างหน้า การส่องกล้องนั้นรวมไปถึงการส่องกล้องที่ทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หากพบว่าระบบการขับถ่ายเปลี่ยนไปสามารถทำการตรวจโดยวิธีนี้เพื่อความชัดเจน
3.การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) : การตรวจชิ้นเนื้อโดยปกติจะทำพร้อมกับการส่องกล้อง ถ้าหากยังมีเซลล์มะเร็งอยู่ ผลการตรวจจะบอกได้ถึงประเภทของเซลล์และขอบเขตของการลุกลาม ถ้าหากก้อนเนื้อมีขนาดเล็กอีกทั้งเติบโตที่ผิวรอบนอกของทวารหนัก ระหว่างที่ตรวจชิ้นเนื้อแพทย์อาจจะตัดเนื้อร้ายออกทั้งหมด
4.การเอ็กซเรย์หน้าอก : เป็นการตรวจมะเร็งทวารหนักขั้นแรกเมื่อมีการลุกลาม หากมีอาการปกติก็แสดงว่าโอกาสในการลุกลามนั้นมีน้อยมาก ไม่ต้องทำการตรวจเอ็กซเรย์ในขั้นต่อไป แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ก็ต้องทำการตรวจให้ละเอียดมากขึ้น
5.การตรวจซีทีสแกน (Computed Tomography) : การทำซีทีสแกนสามารถคาดคะเนขนาด ตำแหน่ง รูปร่างของก้อนเนื้อได้ สามารถพบต่อมน้ำเหลืองที่บวมโตและยังสามารถบอกถึงมะเร็งที่มีการลุกลามไปแล้วได้ด้วย หากพบก้อนเนื้อหรือต่อมน้ำเหลืองโตสามารถทำการตรวจด้วยวิธีนี้ได้
ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า หากทำการตรวจแล้วพบว่าเป็นมะเร็งทวารหนัก ไม่ต้องตกใจไป แต่ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น