- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งเต้านม
- ■ เทคโนโลยีสำหรับโรคมะเร็งเต้านม
- ■ เรื่องราวของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- ■ อาการของโรคมะเร็งเต้านม
- ■ การสร้างเต้านมขึ้นหลังการผ่าตัด
- ■ ระยะของมะเร็งเต้านม
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งร้ายที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด องค์การอนามัยโลกยกให้มะเร็งเต้านมเป็น “มัจจุราชหมายเลขหนึ่ง” ที่คุกคามสุขภาพร่างกายของผู้หญิง
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวระบุว่า การพบในระยะแรกและการตรวจวินิจฉัยในระยะแรกเป็นจุดสำคัญในการยกระดับผลลัพธ์ทางการแพทย์ แนะนำให้สตรีที่มีอายุครบ 40 ปี นอกจากจะตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนแล้ว ควรไปตรวจเต้านมกับผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลตามกำหนดปีละหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในปัจจุบันนับว่าสมบูรณ์ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยพบจุดเกิดโรคมะเร็งได้ทันท่วงที
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง :
1. การตรวจหน้ากระจก
ยืนตรง ปล่อยแขนสองข้างข้างลำตัวตามสบาย สังเกตดูความโค้งของเต้านมในกระจกว่าผิดปกติหรือไม่ ตรวจดูว่าผิวหนังของเต้านมแปลกไปหรือไม่
2. การนอนตรวจ
นอนราบบนเตียง ให้หัวนมเป็นจุดศูนย์กลาง ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วนวดเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา แรงที่ใช้ในการตรวจต้องเท่ากัน โดยให้นิ้วสัมผัสถึงกระดูกซี่โครง หากพบว่ามีก้อนเนื้อขนาดเล็ก ตุ่มพอง ต้องไปตรวจอีกขั้นที่โรงพยาบาล
3. บีบหัวนมเบาๆ
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางบีบหัวนมเบาๆ เพื่อตรวจดูว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่ หากมีของเหลวไหลออกมา ควรสังเกตสีของของเหลว และไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทันที
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม :
1. การตรวจอัลตราซาวด์ : การตรวจอัลตราซาวด์สามารถเห็นรูปร่างเนื้อเยื่อของเต้านมขอบเขต มีก้อนหรือไม่มี ขนาดใหญ่หรือเล็ก รูปร่าง ลักษณะของเนื้องอก ( เป็นถุงหรือเป็นก้อน ) เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยชนิดของเนื้องอกว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย หากตรวจด้วยตนเองแล้วพบก้อนเนื้อที่เต้านม ก็สามารถรับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้
2. การตรวจด้วยภาพถ่ายอินฟราเรด : ใช้ภาพถ่ายแสดงอุณหภูมิที่กระจายบนพื้นผิวร่างกาย เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลอดเลือดเพิ่มขึ้น ผิวของก้อนเนื้อมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิพื้นผิวจะสูงกว่าเนื้อเยื่อโดยรอบ จึงใช้ความแตกต่างนี้มาตรวจวินิจฉัย
3. การตรวจ CT : สามารถใช้กำหนดตำแหน่งก่อนการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อหาความเปลี่ยนแปลงของต่อมเต้านม ชี้ชัดระยะของมะเร็งเต้านมก่อนการผ่าตัด ตรวจบริเวณหลังต่อมเต้านม บริเวณรักแร้ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองภายในเต้านมว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการกำหนดแผนทางการแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเต้านมและสามารถคลำพบก้อนเนื้อก็สามารถตรวจ CT ได้ เป็นการตรวจในขั้นต่อไป
4. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง : ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งนั้น เซลล์มะเร็งจะถูกปล่อยออกมาโดยตรงจากการผลิตหรือหลั่งสารในรูปแบบของแอนติเจน เอนไซม์ ฮอร์โมนและเมแทบอไลด์ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า สารบ่งชี้มะเร็ง วิธีการตรวจ ได้แก่ การตรวจค่า CEA เฟอริติน ( Ferritin ) โมโนโครนอล แอนติบอดี (Monoclonal antibody ) เป็นต้น
5. การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อ : โรคมะเร็งเต้านมต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดก่อนถึงจะเริ่มแผนการทางการแพทย์ได้ แม้ว่าปัจจุบันวิธีการตรวจจะมีมากมาย แต่มีแค่ผลตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อเท่านั้นที่สามารถเป็นหลักฐานการวินิจฉัยที่แน่ชัด การตรวจชิ้นเนื้อรวมถึง การเจาะเข็มเก็บชิ้นเนื้อ การผ่าตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจและการตัดชิ้นเนื้อทั้งชิ้นไปตรวจ เป็นต้น
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น