- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งปากมดลูก
- ■ อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งปากมดลูก
- ■ เรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
- ■ ระยะของมะเร็งปากมดลูก
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สุภาพสตรีมากมายกังวลและหวาดกลัว เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต แต่หากตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ก็จะสามารถดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว จะให้คำแนะนำแก่ท่านเกี่ยวกับวิธีตรวจและวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกดังต่อไปนี้
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกที่พบเห็นบ่อย
๑. การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap smear )
การตรวจแปปสเมียร์ เป็นวิธีการสำคัญในการตรวจหาเซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก แต่ควรระวังในการเก็บเซลล์ในตำแหน่งที่ถูกต้องและส่องกล้องวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะอาจมีผลข้างเคียงซึ่งมีอัตรา 5%-10% ฉะนั้น ควรบูรณาการการตรวจวินิจฉัย รวมถึงแผนการทางการแพทย์ อีกทั้งทำการตรวจตามกำหนด ให้วิธีนี้เป็นการคัดกรองอีกวิธีหนึ่ง
๒. การทดสอบด้วยไอโอดีน
โดยปกติปากมดลูกและเนื้อเยื่อบุผิวช่องคลอดจะมีไกลโคเจนอยู่ ซึ่งเมื่อถูกไอโอดีนจะกลายเป็นสีน้ำตาล แต่เนื้อเยื่อบุผิวปากมดลูก ปากมดลูกกร่อน และเนื้อเยื่อบุผิวที่ผิดปกติ ( รวมถึงการแปรสภาพของเนื้อเยื่อบุผิว การงอกขยายโดยไร้แบบแผน บริเวณมะเร็งหนังกำพร้ารวมทั้งบริเวณที่มะเร็งลุกลาม ) จะเป็นส่วนที่ไม่มีไกลโคเจนอยู่ จึงไม่เกิดสี ฉะนั้น หลังจากใช้เครื่องถ่างขยายช่องคลอดเพื่อดูปากมดลูกแล้ว ก็จะเช็ดน้ำเมือกบนผิวออก จากนั้นป้ายไอโอดีนที่ปากมดลุกและบริเวณร่องล้อมรอบส่วนนอกของคอมดลูกกับปากมดลูก หากพบบริเวณที่ไอโอดีนมีผลลบแบบผิดปกติ ก็จะนำชิ้นเนื้อตรงจุดนี้ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
๓. การตรวจเนื้อเยื่อปากมดลูกและช่องปากมดลูก
เป็นการตรวจแปปสเมียร์ระดับ Ⅲ ถึง Ⅳ ขึ้นไป แต่เมื่อการตรวจชิ้นเนื้อเป็นผลลบ ควรนำชิ้นเนื้อตรงจุดที่หก เก้า สิบสองและสามบริเวณรอยต่อของเซลล์เยื่อบุผิวไปตรวจ หรือนำเนื้อเยื่อตรงบริเวณที่ทดสอบด้วยไอโอดีนแล้วไม่เกิดสีรวมทั้งบริเวณที่สงสัยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งไปตรวจ หรือใช้เครื่องมือขูดช่องปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
๔. การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป (Colposcopy)
การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกได้โดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการเลือกตำแหน่งที่จะนำชิ้นเนื้อไปตรวจ จากสถิติพบว่า หากสามารถนำชิ้นเนื้อมาตรวจได้ภายใต้การช่วยเหลือของกล้องคอลโปสโคป อัตราความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกสูงถึงประมาณ 98% เลยทีเดียว แต่การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปนั้นไม่สามารถแทนที่การตรวจแปปสเมียร์และการตรวจเนื้อเยื่อได้ อีกทั้งไม่สามารถตรวจสภาพการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ช่องปากมดลูกอีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแนะว่า การตรวจและวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกสามารถช่วยให้พบมะเร็งปากมดลูกได้เร็ว และหลีกเลี่ยงการดูแลที่สายเกินไป
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น