- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งไต
- ■ อาการของโรคมะเร็งไต
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งไต
- ■ เรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งไต
- ■ ระยะของมะเร็งไต
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งไต
มะเร็งไตเป็นมะเร็งร้ายในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบเจอบ่อยที่สุด มักเกิดกับเพศชาย อัตราส่วนชายต่อหญิงอยู่ที่ 2:1 เนื้องอกดีในไตนั้นโดยมากจะไม่มีอาการใดใด แต่ถ้าเนื้องอกนั้นมีอาการส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้องอกร้าย อาการของมะเร็งไตจะไม่แน่นอน หากมีอาการที่ไม่ได้เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน มักจะเป็นสัญญาณเตือนมะเร็งไตในระยะแรก จึงควรรีบไปโรงพยาบาลดำเนินการตรวจเพื่อหาสาเหตุ
วิธีการวินิจฉัยมะเร็งไต
1.การตรวจทั่วไป : เมื่อก้อนเนื้อรุกรานไปในกรวยไตหรือแคลิกซ์ (calyx) ผลการตรวจปัสสาวะจะมีค่าเม็ดเลือดแดงที่แตกต่างกัน แต่ถึงแม้ว่าผลการตรวจปัสสาวะจะเป็นปกติ ก็ยังไม่สามารถมองข้ามโอกาสในการเป็นมะเร็งไตได้ ดังนั้นแล้วควรจะดำเนินการตรวจอีกขั้น
2.การเอกซเรย์ : เป็นขั้นตอนการวินิจฉัยมะเร็งไตที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเนื่องด้วยเครื่องมือที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความแม่นยำในการเอกซเรย์ก็ยกระดับขึ้นอย่างเห็นชัด
(1) การตรวจทางรังสี x-ray เงาไตที่เรียกว่า KUB (Kidney, ureter, and bladder) : จากแผ่นฟิล์มจะสามารถเห็นตำแหน่งการเปลี่ยนแปลงของอาการผู้ป่วยและเงาไตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เงาของกล้ามเนื้อบริเวณเอวไม่ชัดเจน และมี 10% ของก้อนเนื้อหรือรอบๆ ก้อนเนื้อที่กลายเป็นหินปูน
(2) การตรวจโดยถ่ายภาพกรวยไตทางรังสี : การฉีดสารทึบแสงเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยการถ่ายภาพรังสีดูเป็นระยะๆ (Intravenous Pyelography - IVP) หรือการตรวจไตและส่วนประกอบโดยการฉีดสารทึบแสงเข้าไปทาง ureteric catheter แล้วถ่ายภาพรังสี (Retrograde pyelography – RP) เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในการตรวจมะเร็งไต
(3) การตรวจโดยฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Renal angiography or Aortography) : เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการวิเคราะห์หรือวินิจฉัยมะเร็งไตระยะแรก
(4) การถ่ายภาพทางรังสีหลอดเลือดดำ IVC : 5%-15% ของมะเร็งไตในหลอดเลือดดำจะมีก้อนลิ่มเลือดธรอมบัส (Thrombus) การถ่ายภาพจะทำให้เรารู้สภาวะของหลอดเลือดดำ IVC ว่ามีการกดทับจากก้อนเนื้อหรือมีการรุกรานหรือไม่ ภายในหลอดเลือดดำไตมีก้อนลิ่มเลือดหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นต้น
3. การตรวจซีที : โดยมากใช้วิธีนี้เพื่อยืนยันแยกแยะว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย ซึ่งมีความแม่นยำค่อนข้างสูง
4.การตรวจ MRI : เป็นการตรวจที่แยกแยะได้ชัดเจนระหว่างก้อนเนื้อที่ไตหรือถุงน้ำที่ไต หากคลำเจอก้อนเนื้อที่ไต ควรจะตรวจด้วยวิธีนี้
5.การตรวจอัลตราซาวด์ : สามารถแยกประเภทของก้อนเนื้อหรือถุงน้ำได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถแสดงขอบเขตของมะเร็ง มีการรุกรานไปที่อวัยวะอื่นหรือไม่ มีการลุกลามไปที่ตับกับม้ามหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในการบ่งบอกระยะของมะเร็งไตได้ หากพบอาการผิดปกติทั้งร่างกายก็สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้
6. การตรวจนิวไคลด์รังสี : การตรวจวิธีนี้สามารถทำให้รู้ถึงการทำงานของตับได้อย่างดี ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้เทคโนโลยีถ่ายภาพแสดงการทำงานของตับและภาวะตับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถทำการเอกซเรย์ได้
ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำเป็นตัวช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางที่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นแล้วพอมีอาการที่น่าสงสัยเกี่ยวกับมะเร็งไต ควรรีบไปโรงพยาบาลดำเนินการตรวจทันที
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น