- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ■ อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความเบาหรือความไม่ชัดเจนในระยะแรก ผู้ป่วยมักจะไม่ให้ความสนใจ และถูกวินิจฉัยผิดพลาดอย่างง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยวัยกลางคน (อายุ ๔๐-๕๐) ต้องระมัดระวังยิ่งขึ้น ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ๑) มีการเปลี่ยนแปลงความเคยชินในการถ่ายอุจจาระ (เช่น อาการท้องผูก ท้องร่วง หรือการถ่ายแบบลำบากและไม่คล่องตัว) ไม่สบายท้องอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้สึกเจ็บและบวมในท้อง ๒) อุจจาระเหลว หรือมีเลือดและน้ำเมือกติดอยู่ข้างบน ๓) มีผลบวกทางการตรวจหาเลือดในอุจจาระอย่างต่อเนื่อง ๔) มีอาการเลือดจาง อ่อนเพลีย หรือลดน้ำหนักโดยไม่มีเหตุผล ๕) ค้นพบและสามารถสัมผัสกับก้อนเนื้อเล็กๆ อยู่ตรงบริเวณส่วนท้อง
เมื่อเกิดอาการสงสัยดังกล่าวข้างต้น นอกเหนือสอบถามประวัติการเป็นโรคและตรวจสอบร่างกายของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังควรดำเนินการตรวจสอบอย่างครบวงจร เพื่อมีความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่
วิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วไป
๑.การตรวจสารบ่งบอกมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CEA): สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่มีความจำเพาะ (specificity) ในการทดสอบนั้น แต่เมื่อมีผล CEA สูงขึ้น มักจะผูกพันกับความเติบโตของเนื้องอก หลังจากผ่าตัดเนื้องอกไปแล้ว ผลตรวจ CEA จะกลับมาสู่สภาพปกติ แต่ถ้ามะเร็งมีความกำเริบอีกครั้ง ผลตรวจ CEA ก็จะสูงขึ้นใหม่ ฉะนั้น การตรวจสารบ่งบอกมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CEA) เป็นวิธีการทั่วไป ซึ่งสามารถช่วยประเมินทิศทางการพัฒนาของโรค ควมคุมเฝ้าติตตามผลลัพธ์ทางการแพทย์ และการกำเริบของโรค
๒. การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ซีที หรือเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI): วิธีการตรวจสอบประเภทนี้ ไม่สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยตรง แต่สามารถช่วยชี้บอกขนาด สถานที่เกิด และความสัมพันธ์กับอวัยวะที่อยู่รอบเนื้องอก และช่วยวินิจฉัยสถานการณ์การรามไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือตับ วิธีการตรวจสอบประเภทนี้เหมาะสำหรับตรวจดูระดับความพึ่งพาระหว่างเนื้องอกกับลำไส้ และมีความลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะที่อื่นหรือไม่ เป็นวิธีการมักใช้ในระยะก่อนหรือหลังการผ่าตัด
๓. การตรวจอุจจาระ: อุจจาระของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มักมีผลตรวจดัชนีชี้วัดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (M2-PK) สูงกว่าคนปกติ 14 เท่า ฉะนั้น การตรวจ M2-PK ในอุจจาระ กลายเป็นวิธีใหม่วิธีหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
๔. การตรวจด้วยเอกซเรย์: วิธีการตรวจสอบประเภทนี้รวมวิธีถ่ายภาพรังสีของกระเพาะอาหารขณะกลืนแป้ง (Barium Meal) และภาพลำไส้สวนด้วยแป้งแบเรี่ยม สามารถตรวจดูสภาพลำไส้ใหญ่มีติ่งเนื้อและจุดที่เกิดก้อนเนื้องอก (Multiple Node) หรือไม่ ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญอีกหลักฐานหนึ่งก่อนการผ่าตัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดขึ้นในระยะแรก มักจะมีปรากฏการณ์ผนังลำไส้แข็ง เยื่อเหนียวไม่สมบูรณ์ และยังสามารถมองเห็นความขาดแคลนตรงสถานที่สวนแป้งแบเรี่ยมหรือความคับแคบของช่องลำไส้ เป็นต้น นอกจากนี้ วิธีการตรวจด้วยสวนแป้งแบเรี่ยมและใส่ลม (Double Contrast of Air and Barium) ก็เป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่มีผลประโยชน์ต่อการวินิฉัยอย่างมาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กวางโจว ขอเตือนท่านว่า ถ้าท่านค้นพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ควรตรวจสอบอย่างละเอียด และเข้าปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น