- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ อาการของโรคมะเร็งไขกระดูก (Multiple myeloma)
- ■ การวินิจฉัยโรคมะเร็งไขกระดูก (Multiple myeloma)
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งไขกระดูก (Multiple myeloma)
โรคมะเร็งไขกระดูก ( Multiple Myeloma หรือ MM ) คืออะไร?
โรคมะเร็งไขกระดูก หรือ โรคเอ็มเอ็ม เป็นโรคมะเร็งทางระบบเลือดชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นจากพลาสมาเซลล์ (เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก) โดยปกติพลาสมาเซลล์จะทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีต้านเชื้อโรคให้แก่ร่างกาย แต่พลาสมาเซลล์ที่เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง——เซลล์มะเร็งมัยอิโลมาในไขกระดูกจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ จะปรากฏอาการ เช่น โลหิตจาง ปวดกระดูก กระดูกหัก ภูมิคุ้มกันลดลง แคลเซียมในเลือดสูง มีโปรตีนในปัสสาวะ ระบบการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
สถานการณ์การเกิดโรคมะเร็งไขกระดูก
อัตราการเกิดโรคเอ็มเอ็มมีประมาณสองในแสน ถูกจัดเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตอันดับสองที่พบได้บ่อย มักเกิดในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 - 65 ปี ไม่กี่ปีมานี้มีแนวโน้มเกิดในผู้ที่อายุน้อยกว่านั้น อัตราการเกิดโรคในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง อัตราเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 1.6 : 1 ตามอายุที่เพิ่มขึ้น อัตราการเกิดโรคเอ็มเอ็มก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตและคุณภาพการอยู่รอดมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้สูงอายุไม่ควรละเลยโรคมะเร็งทางโลหิตนี้ ซึ่งการเกิดโรคเอ็มเอ็มนั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติอีกด้วย โดยอัตราการเกิดโรคในคนผิวดำจะสูงกว่าเล็กน้อย
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งไขกระดูกคืออะไร?
สาเหตุการเกิดโรคเอ็มเอ็มยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก โดยอาจเกี่ยวกับการแผ่ของรังสีก่อประจุ การกระตุ้นเรื้อรังของเอนติเจน ไวรัส EB หรือการติดเชื้อไวรัสที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็ง Kaposi's sarcoma และอาจเกี่ยวข้องกับเซลล์และยีน ซึ่ง IL-6 ทำให้เซลล์มะเร็งเอ็มเอ็มเจริญเติบโต
อาการของโรคมะเร็งไขกระดูกมีอะไรบ้าง ?
โรคเอ็มเอ็มมีอัตราการวินิจฉัยผิดพลาดสูงถึง 40% - 50% เลยทีเดียว โดยอาการที่พบบ่อยซึ่งทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดมีดังนี้ :
1. การติดเชื้อ : ผู้ป่วยจะเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจหรือการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย สำหรับอาการในระยะสุดท้าย การติดเชื้อเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้
2. โลหิตจาง : การทำงานโดยปกติของไขกระดูกในผู้ป่วยโรคเอ็มเอ็มถูกควบคุม ทำให้เกิดโลหิตจาง
3. อาการของกระดูก : ปวดกระดูก มีเนื้องอกบางส่วน กระดูกหัก แม้กระทั่งอัมพาต เป็นต้น
4. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง : ทำให้อาเจียน อ่อนเพลีย ความจำเลือนราง ปัสสาวะบ่อยหรือท้องผูก เป็นต้น
5. ภาวะเลือดมีความข้นหนืดมาก : อาการหลักที่พบ คือ เวียนหัว หน้ามืด ตาลาย หูอื้อ เกิดความผิดปกติในระดับความรู้สึกตัวกะทันหัน นิ้วมือชา เป็นต้น
6. ระบบการทำงานของไตบกพร่อง : เมื่อตรวจวินิจฉัยจะพบว่า ผู้ป่วยมักมีการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ร่วมด้วย
วิธีการตรวจวินิจฉัยมีอะไรบ้าง?
จากการตรวจวินิจฉัยพบว่า สองในสามของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจครั้งแรกมักจะตรวจพบว่าเป็นระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไปตรวจผิดแผนก ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนผู้ป่วยว่า หากมีอาการปวดกระดูก โลหิตจาง ไตทำงานไม่สมบูรณ์ มีการติดเชื้อครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นต้น ต้องเข้ารับการตรวจที่แผนกโลหิตวิทยาทันที หากตรวจพบโรคเร็วก็จะสามารถควบคุมการพัฒนาของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเอ็มเอ็ม ควรรีบไปตรวจระดับ immunoglobulin ตรวจ Bence Jones protein การตรวจเอกซเรย์ รวมถึงการตรวจไขกระดูก การตรวจเอกซเรย์หลายจุดนั้นมีส่วนช่วยอย่างมากในการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถพบจุดแตกหักของกระดูกรูปร่างกลมมนซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน ( โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน ) เมื่อจำเป็นก็ต้องทำการตรวจ CTและตรวจ MRI ซึ่งการตรวจ MRI มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยว่ากระดูกสันหลังมีการกดทับหรือไม่ ส่วนการตรวจ CT จะมีส่วนช่วยในการแสดงให้เห็นรอยโรคนอกไขสันหลัง บางครั้งโรคกระดูกพรุนสามารถปรากฏเป็นผลเอกซเรย์เพียงอย่างเดียวของโรคเอ็มเอ็ม ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรคเอ็มเอ็มให้แน่ชัด ต้องเจาะตรวจชิ้นเนื้อหรือไขกระดูกหลายตำแหน่ง
การแบ่งลักษณะและระยะของโรคมะเร็งไขกระดูก
การเพิ่มขึ้นของอิมมูโนโกลบูลินที่มีความผิดปกติทำให้สามารถแบ่งชนิดของโรคมะเร็งไขกระดูกออกเป็น lgG lgA lgD lgM และ lgE เป็นต้น
ระบบการแบ่งชนิด ISS
ระยะ |
เกณฑ์มาตรฐานการแบ่งระยะ
ISS |
ค่ากลางของการอยู่รอด
(เดือน) |
1 |
เซรุ่มβ2-MG<3.5mg/L, โปรตีน≥35g/L |
62 |
2 |
ผู้ป่วยทั้งหมดที่ไม่สอดคล้องกับระยะ
1 และ 3 |
45 |
3 |
เซรุ่มβ2-MG≥5.5mg/L |
29 |
เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งไขกระดูก
ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและอยู่ในระยะคงที่ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตามกำหนด ส่วนผู้ที่มีเอ็มโปรตีน ( M-protein ) ในเลือดหรือในปัสสาวะสูงขึ้นหรือปรากฏอาการนั้น ต้องเข้าปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี หากเงื่อนไขเหมาะสมก็สามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้
การบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน : เป็นทางเลือกอันดับแรกสำหรับผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถใช้ยาแพทย์แผนจีนร่วมในระหว่างการใช้ยาเคมี ก็จะสามารถยกระดับผลลัพธ์การใช้ยาเคมีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดผลข้างเคียงของยาเคมี ฟื้นฟูสมรรถภาพการสร้างเม็ดเลือดของไขกระดูก เพิ่มสมรรถนะภูมิคุ้มกัน ในช่วงเวลานี้ ยาแพทย์แผนจีนจะไปโจมตีเซลล์มะเร็งอย่างต่อเนื่อง ทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก ในระหว่างการให้ยาเคมี กระเพาะและลำไส้ของผู้ป่วยจะมีการตอบสนองมาก จึงไม่เหมาะกับการทานยาแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวจะใช้รูปแบบการฉีดยาในการเยียวยาและบรรเทาอาการของผู้ป่วย
การให้ยาเคมี : เป็นวิธีการมาตรฐานของโรคมะเร็งไขกระดูก
การฉายรังสี : ใช้ค่อนข้างน้อย เหมาะสำหรับเฉพาะส่วน ผู้ที่มีอาการปวดกระดูกและกระดูกไขสันหลังกดทับ
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ : การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากร่างกายตนเองและจากร่างกายผู้อื่นสามารถใช้กับโรคมะเร็งไขกระดูกได้อีกด้วย
วิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งไขกระดูกจากครอบครัว
1. พักผ่อน : สามารถออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ห้ามออกกำลังกายหักโหม เพื่อป้องกันการล้ม การกระแทกจนได้รับบาดเจ็บ
2. เพื่อป้องกันกระดูกหักทางพยาธิวิทยา : ควรให้ผู้ป่วยใช้เตียงแข็งราบ เว้นการใช้เตียงที่มีความยืดหยุ่น
3. การดูแลเรื่องอาหาร : ควรทานอาหารที่มีพลังงานสูง โปรตีนสูง อุดมไปด้วยวิตามิน อาหารย่อยง่าย ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตไม่สมบูรณ์ ควรรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ โปรตีนต่ำหรือแป้งข้าวสาลี เพื่อลดการทำงานของไต หากมีกรดยูริกในเลือดสูงและมีแคลเซียมในเลือดสูง ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ทุกวันพยายามปัสสาวะออกมา 2000 ml ขึ้นไป เพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและแคลเซียมในเลือดสูง
4. สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ลุกจากเตียงไม่ได้เพราะเคลื่อนไหวไม่สะดวกนั้น ควรช่วยพลิกตัวเป็นประจำ โดยต้องทำอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเกิดกระดูกหัก บริเวณผิวหนังที่มีการกดทับ ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นนวดหรือทำกายภาพ เตียงควรแห้งและเรียบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ
5. การดูแลช่องปาก : ผู้ป่วยที่ระบบการทำงานของไตเสียหาย เนื่องจากการสะสมของสารเมตาบอไลท์ที่มากเกินไป ของเสียบางส่วนจึงเข้าไปในทางเดินหายใจและขับออกมา ทำให้มีกลิ่นปาก ส่งผลต่อความอยากอาหารของผู้ป่วย จึงควรดูแลความสะอาดภายในช่องปาก ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
6. การดูแลด้านสภาพจิตใจ : ให้ผู้ป่วยระบายความกังวลออกมา เพิ่มความเอาใจใส่และดูแลผู้ป่วย พยายามบรรเทาความกดดัน ช่วยผู้ป่วยให้เผชิญหน้ากับความจริง กำจัดความหวาดกลัว ให้อารมณ์มั่นคง
สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกแพทย์แผนจีน แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนการที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยปรับผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น