- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ อาการของโรคมะเร็งผิวหนัง
- ■ การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนัง
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนังคืออะไร?
มะเร็งผิวหนัง หมายถึง การที่บริเวณผิวของเราเกิดเนื้องอกร้ายขึ้น โดยมักจะเกิดในส่วนที่โผล่ออกมาจากร่างกาย เช่น ศีรษะ ใบหน้า คอ มือ หลัง เป็นต้น อัตราการเกิดรวมประมาณ 81.1%
กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังมากที่สุด
มะเร็งผิวหนังมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 51 – 60 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคมากที่สุด และเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วนระหว่าง 2 : 1 ซึ่งในจำนวนนี้อัตราการเกิดโรคของพวกคนผิวขาวจะสูงที่สุด
อาการของมะเร็งผิวหนังมีอะไรบ้าง?
มะเร็งผิวหนังชนิด Basal cell Carcinoma ( BCC ) กับมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell Carcinoma ( SCC ) นั้นมีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก แรกสุดจะเป็นจุดเล็กๆ ขรุขระบริเวณผิว แต่จะแดงหรือขาวกว่าบริเวณรอบๆ เล็กน้อย และอาจจะเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็กหรือมักมีเลือดออกได้ง่าย หายช้าหรือเป็นแผลเล็กๆ ที่ไม่หาย
วิธีการตรวจมะเร็งผิวหนังด้วยตนเอง
1. ตรวจดูฝ่ามือ นิ้วมือ ช่วงระหว่างนิ้วมือ ด้านหน้าและหลังของแขน จากนั้นยกแขนทั้งสองข้างขึ้น งอข้อต่อข้อศอก สังเกตด้านในของปลายแขนและบริเวณข้อต่อ
2. ตรวจดูด้านหน้าของร่างกาย : บริเวณท้อง รวมทั้งเนินหัวเหน่าและต้นขา หน้าแข้ง ใบหน้า ลำคอและหน้าอก
3. ตรวจดูด้านข้างของร่างกาย : ให้ยกมือขึ้น ตรวจบริเวณฝั่งซ้ายก่อน แล้วจึงตรวจฝั่งขวา
4. หันหลังให้กระจก ถือกระจกเล็กๆ อีกอันไว้ในมือ ส่องดูบริเวณด้านหลังของลำคอ หลัง สะโพกและส่วนต่างๆ ของแขนทั้งสองข้าง หากไม่สะดวกสามารถให้สามี ภรรยาหรือเพื่อนมาช่วยตรวจได้
5. ให้ผู้อื่นช่วยใช้หวีมาแบ่งเส้นผมออก เพื่อสะดวกในการตรวจดูผิวหนังที่ศีรษะว่ามีส่วนใดน่าสงสัยหรือไม่ ถ้าเป็นเพศชาย ตอนที่ผมกำลังสั้นก็สามารถคลำตรวจช้าๆ ด้วยตนเองได้
6. นั่งลง แล้วตรวจดูบริเวณหลังเท้า ส้นเท้า นิ้วเท้าและฝ่าเท้า จากนั้นให้ใช้กระจกมาส่องด้านหลังของขาทั้งสองข้างว่ามีส่วนใดมีอาการของโรคหรือไม่ และเมื่อพบว่ามีส่วนใดที่ผิดปกติ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
บุคคลประเภทใดที่มักจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง?
1. ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยๆ
2. ในวงศ์ตระกูลมีคนเคยเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่าสองคนขึ้นไป
3. สีของลูกตาค่อนข้างอ่อน
4. เส้นผมออกเป็นสีแดงและทอง
5. บนผิวหนังเกิดจุดต่างๆ ได้ง่าย
6. ช่วงวัยเด็กเคยตากแดดจนผิวไหม้
7. ผู้ที่มักสัมผัสกับยางมะตอย น้ำมันดิน น้ำมันแร่ ในการทำงานบ่อยๆ
สามารถวินิจฉัยได้อย่างไร?
เนื่องจากมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้นที่ผิวของร่างกาย ขั้นตอนแรกของการวินิจฉัยจึงเป็นการตรวจดูด้วยสายตาของแพทย์ด้านผิวหนัง แพทย์ด้านผิวหนังที่มีประสบการณ์เพียงแค่ดูด้วยตาก็สามารถทราบได้ทันทีว่าเนื้องอกบนผิวหนังนั้นเป็นเนื้อดีหรือไม่ หากแพทย์สงสัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง ก็จะตัดเนื้อเยื่อส่วนเล็กๆ ส่งไปที่ห้องทดลองเพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อีกขั้นว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
มีวิธีใดได้บ้าง?
1. การผ่าตัด : การผ่าตัดถือเป็นตัวเลือกแรกสำหรับโรคมะเร็งผิวหนัง หากมีการผ่าตัดอย่างเหมาะสม ก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ดี
2. ยาเคมี : การให้ยาเคมีก็เป็นหนึ่งสำหรับโรคมะเร็งผิวหนัง
3. การฉายรังสี : ผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังที่สูงอายุและร่างกายอ่อนแอนั้น ไม่เหมาะสมกับการผ่าตัด ปกติจึงใช้การฉายรังสี ซึ่งระหว่างนั้น ควรระวังป้องกันเนื้อเยื่อโดยรอบด้วย
4. เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก : เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็กจะมาทดแทนในส่วนที่การผ่าตัด การฉายรังสีและการทำเคมีแบบดั้งเดิมไม่เพียงพอ ในขณะที่กำจัดเซลล์มะเร็ง ก็สามารถฟื้นฟูประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย สามารถยับยั้งการกลับมาเป็นซ้ำและการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้ มีข้อดีคือ ไม่ต้องผ่าตัด และเสียเลือดน้อย เป็นต้น
แพทย์แผนจีนสามารถทดแทนส่วนขาดของการผ่าตัด การทำเคมีและการฉายรังสีได้ นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีข้างต้นแล้ว ยังช่วยลดผลข้างเคียงของการทำเคมีและการฉายรังสีอีกด้วย ทั้งยังยกระดับสมรรถนะใหม่ในร่างกาย บรรลุผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
วิธีการดูแลทางด้านโภชนาการผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังมีอะไรบ้าง?
1. อาหารการกินหลังผ่าตัด : หลังจากทำการผ่าตัดมะเร็งผิวหนังแล้วจะเสียเลือดมาก จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่บำรุงเลือด เช่น ข้าวJaponica ถั่วแขก พุทรา เห็ดหอม แครอท โจ๊กรากบัว ถั่วต่างๆ เป็นต้น
2. อาหารการกินเมื่อใช้วิธีการฉายรังสี : ในการฉายรังสีจะทำให้ของเหลวในร่างกายถูกเผาผลาญไปมาก จึงควรรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุง เช่น ผักและผลไม้สด อาทิ ผักปวยเล้ง ผักกาดขาว รากบัว สาลี่ขาว กล้วยหอม องุ่น เป็นต้น
3. อาหารการกินเมื่อให้ยาเคมี : ควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุง เช่น เห็ดหูหนูขาว เห็ดหอม กระจับ เป็นต้น
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง?
1. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการตากแดด
2. หากพบว่ามีอาการน่าสงสัยว่าโรคจะกลับมาเกิดซ้ำ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
3. มะเร็งผิวหนังมีแนวโน้มการเกิดหลายอย่าง ในขณะที่ดูแลผู้ป่วย จึงควรพิจารณาดูผิวหนังทุกๆ ส่วนอย่างละเอียด โดยเฉพาะหลังใบหูและบริเวณอับ
สามารถได้รับการสนับสนุนด้านใดได้บ้าง
จากผลการปฏิบัติพิสูจน์ให้เห็นว่า การบริการของทีมแพทย์ซึ่งบูรณาการหลายแขนง เช่น แผนกผ่าตัดเนื้องอก แผนกอายุรกรรมเนื้องอก แผนกพยาธิวิทยา แผนกภาพถ่ายทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล เป็นต้น ช่วยกำหนดแผนที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ช่วยทำให้ผลลัพธ์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น
จากระบบทางการแพทย์ที่เน้นการบริการครบถ้วนในครั้งเดียว โดยการบูรณาการหลายแขนงของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว บูรณาการการตรวจและแผนการต่างๆให้กับผู้ป่วย ด้านหนึ่งโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเสนอการบริการด้านการแพทย์ที่ครบวงจรให้แก่ผู้ป่วย อีกด้านหนึ่งยกระดับประสิทธิภาพทางการแพทย์ให้สูงขึ้น โดยไม่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้งช่องทางการติดต่อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีหลายช่องทาง ได้แก่ ทางออนไลน์ ทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะกัน เพื่อขยายช่องทางการบริการให้คำปรึกษา ช่วยให้พวกเขาต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยจะได้พบนั้นประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ และล่ามแปลภาษา เป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการทุกระดับชั้นของผู้ป่วยจากประเทศที่แตกต่างกันให้เป็นที่พอใจ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยช่องทางเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับทางโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น