- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ■ อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ■ เรื่องราวของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ■ ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
หากร่างกายปรากฏก้อนเนื้อที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด จำเป็นต้องใช้เวลาสังเกตช่วงระยะหนึ่ง ถ้าหากก้อนเนื้อไม่หายไป แม้จะไม่รู้สึกว่าเจ็บปวดก็ต้องรีบไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล เมื่อแพทย์สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถตัดชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือตัดบริเวณอวัยวะหรือตำแหน่งอื่นๆ ที่มีอาการเจ็บปวด มาทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไม่ควรทำการตรวจโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีก่อน เนื่องจากตำแหน่งรอยโรคและขอบเขตแตกต่างกัน อาการแสดงก็ไม่เหมือนกัน การตรวจวินิจฉัยโดยไม่ไตร่ตรองจะยิ่งทำให้ความเป็นไปได้ในการตรวจวินิจฉัยผิดพลาดมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องระมัดระวังในส่วนของวิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรทำการตรวจอย่างเป็นระบบ
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอะไรบ้าง?
การตรวจโดยภาพถ่ายทางการแพทย์
1. การตรวจอัลตราซาวด์ : การตรวจอัลตราซาวด์สามารถแสดงให้เห็นต่อมน้ำเหลืองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ต่อมน้ำเหลืองที่ใหญ่ขึ้นนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการรุกล้ำของเนื้องอกหรือเป็น Reactive hyperplasia หรือเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง อีกทั้งการตรวจอัลตราซาวด์สามารถแสดงให้เห็นตับม้ามที่บวมโต รวมทั้งเนื้องอกขนาดเล็กๆ ที่อยู่ในตับม้ามได้อย่างชัดเจน
2. การตรวจ CT การตรวจ NMR และ : สามารถแสดงให้เห็นรอยโรคต่อมน้ำเหลืองภายในทรวงอก หลังเยื่อบุช่องท้องและเยื่อ mesentery รวมถึงรอยโรคที่ตับและม้าม เมื่อตรวจพบว่ามีเนื้องอกในร่างกาย แพทย์จะนำสารบ่งชี้มะเร็งจากร่างกายของผู้ป่วยไปทำการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดดีหรือชนิดร้าย การตรวจด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่พบอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งทางพยาธิวิทยา
1. การตรวจต่อมน้ำเหลืองทางพยาธิวิทยา : โดยทั่วไปมะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรใช้การตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด ซึ่งตัวอย่างการตรวจทางพยาธิวิทยานี้จะยึดต่อมน้ำเหลืองเป็นหลัก
2. การตรวจเลือด : เซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินส่วนใหญ่จะเป็นปกติ แต่ในระยะสุดท้ายเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์จะลดลง ส่วนผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน เมื่อทำการตรวจจะพบว่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติ ทำให้เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์เพิ่มขึ้นไปด้วย
3. การตรวจไขกระดูกทางพยาธิวิทยา : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองรุกล้ำเข้าไขกระดูกนั้นมีอัตราสูงถึง 40% - 90% เลยทีเดียว เนื่องด้วยความสำคัญในทางคลีนิคของการตรวจไขกระดูก จึงมักต้องทำการเจาะตรวจชิ้นเนื้อหนึ่งครั้ง หรืออาจจะมากกว่าหนึ่งครั้งขึ้นไป
4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ : ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์
ขนาดเล็กและ Small cleaved cell จะมีการรุกล้ำที่ตับง่ายกว่า Large cleaved cell
5. การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา : เป็นวิธีการตรวจเพื่อยืนยันผลวินิจฉัยที่ไม่สามารถขาดได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเลือกตรวจต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ลำคอหรือบริเวณรักแร้
6. การส่องกล้องตรวจช่องอก ( mediastinoscopy ) : การส่องกล้องในช่องอกสามารถตรวจชิ้นเนื้อได้โดยผ่านด้านนอกเยื่อหุ้มปอดเข้าไปในประจันอก ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย สะดวกและปลอดภัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า หากตรวจวินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก่อนอื่นต้องไม่ตื่นตระหนก จะต้องประเมินว่าควรดูแลอย่างไร โดยยึดตามสภาพโดยรวมทั้งหมด ทำการปรึกษาหลายๆ ด้าน ซึ่งโดยทั่วไปมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะไม่เหมาะกับการผ่าตัด โดยเฉพาะในภาวะที่ก้อนเนื้องอกไปกดทับเส้นประสาทหรืออยู่ใกล้หลอดเลือดใหญ่ จึงแนะนำให้ใช้เทคนิคแบบบูรณาการ ใช้เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น