- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งรังไข่
- ■ อาการของโรคมะเร็งรังไข่
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งรังไข่
- ■ เรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งรังไข่
- ■ ระยะของมะเร็งรังไข่
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งรังไข่
ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ควรเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ค้นพบโรคตั้งแต่ระยะแรก หากคุณมีอาการคล้ายกับมะเร็งรังไข่ ควรรีบทำการตรวจให้ทันเวลา บอกอาการของคุณให้แพทย์ทราบ และเข้ารับการตรวจในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยเร็ว วิธีวินิจฉัยมะเร็งรังไข่นอกจากการตรวจร่างกายโดยทั่วไปแล้ว ยังรวมถึงวิธีดังต่อไปนี้
1.การตรวจภายใน
แพทย์ที่มีประสบการณ์จะทำการตรวจด้วยวิธีการสัมผัสมดลูก รังไข่ และส่วนต่างๆ ผ่านทางช่องคลอด เพื่อประเมินขนาดของเนื้องอก ลักษณะ พิสัยการเคลื่อนไหว และความสัมพันธ์ของอวัยวะภายในช่องท้องบริเวณรอบๆ เป็นต้น หากปรากฏอาการท้องอืดชัดเจนหรือบริเวณท้องมีก้อนขึ้นมา ก็สามารถเข้ารับการตรวจวิธีนี้ได้
2.การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 มักใช้กับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ รวมถึงการตรวจหาและการติดตามผล มีความสำคัญอย่างมากต่อการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว การวินิจฉัยต่อเยื่อเมือกบุภายในโพรงมดลูกมีความแม่นยำสูงถึง 80% ขึ้นไป แต่ผลการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ที่มีความผิดปกติก็ไม่ได้ความว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่เสมอไป เนื่องจากโรคในผู้หญิงบางอย่าง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเฉียบพลัน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก็อาจจะปรากฏผลการตรวจสารบ่งชี้ CA-125 ที่สูงขึ้นได้
3.การตรวจชิ้นเนื้อ
การตรวจชิ้นเนื้อ คือการนำเซลล์เนื้อเยื่อมาดำเนินการตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยที่ทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ มาแล้ว แต่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัดนั้น ล้วนจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อ รูปแบบของการนำเซลล์เนื้อเยื่อออกมาตรวจ : ผ่าตัด ส่องกล้อง การใช้เข็มเจาะเพื่อดูดเซลล์ไปตรวจ(FNA)
4.การตรวจด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์
(1) การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด : เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ สามารถวินิจฉัยขนาดของเนื้องอก ลักษณะ ตำแหน่ง ความสัมพันธ์เกี่ยวกับมดลูกรวมไปถึงมีน้ำในช่องท้องหรือไม่ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งรังไข่ร วมถึงผู้ที่ปรากฏอาการไม่สบายท้องหรืออาการที่ช่องคลอดมีเลือดออก เป็นต้น แนะนำให้ทำการตรวจด้วยวิธีนี้
(2) การตรวจ CT หรือ MRI : มีส่วนช่วยในการประเมินขนาด ลักษณะ และตำแหน่งการแพร่กระจายของมะเร็งรังไข่ รวมถึงการตรวจหาว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือบริเวณหลอดเลือดหลักมีการขยายโตขึ้นหรือไม่
(3) การตรวจ PET/CT : สามารถใช้ในการตรวจหาก้อนมะเร็ง รวมไปถึงภาวะการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลของโรคและตรวจสอบผลลัพธ์ทางการแพทย์ได้อีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า การปรึกษษแพทย์แต่เนิ่นๆ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น