- ข่าวสารโรคมะเร็ง
- ■ มะเร็งรังไข่
- ■ การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่
- ■ ขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับมะเร็งรังไข่
- ■ เรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งรังไข่
- ■ ระยะของมะเร็งรังไข่
- ■ ผลการรายงานโรคมะเร็งรังไข่
เนื้อร้ายของรังไข่โตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และลามง่าย โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน บางครั้งอาจจะค้นพบในการตรวจสองโรคผู้หญิง หรือค้นพบตอนที่เนื้องอกโตถึงช่องเชิงกราน และสามารถสัมผัสทางช่องท้อง หรือค้นพบเมื่อมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น แต่จะต่างเมื่อถึงระยะหลังๆ แล้ว อาการข้างเคียงของมะเร็งรังไข่มีความแตกต่างเพราะขนาด และเวลาการเกิดเนื้องอก
อาการมะเร็งรังไข่มักพบได้ ดังนี้
๑ มีอาการปวดช่วงท้องข้างใดข้างหนึ่งในระยะแรก
๒ มีความรู้สึกท้องพองโต เนื่องจากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการท้องพอง ก้อนเนื้อในช่องท้อง และน้ำในช่องท้อง ขนาดเล็กของเนื้องอกได้ค้นพบเมื่อตรวจช่องทางเชิงกราน ถ้าหากก้อนเนื้อใหญ่เกินและผ่านช่องทางเชิงกราน เมื่อการตรวจช่องท้องก็สามารถสัมผัสได้
๓ อาการกดทับ เมื่อเนื้องอกกดทับอวัยวะหรือบริเวณรอบๆ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เอวหรือเส้นประสาทไซอาติก หากเนื้องอกระงับถึงเส้นเลือดดำ จะมีอาการบวมทางขาด้านล่าง สำหรับเนื้องอกขนาดใหญ่ที่กดระงับถึงกระเพาะปัสสาวะนั้น จะมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายยาก และ ถ่ายไม่ออก กรณีกดระงับกระเพาะลำไส้ มีอาการทางเดินอาหารเกิดขึ้น และกรณีกดระงับกะบังลม มีอาการหายใจลำบาก ไม่สามารถนอนตรงได้
๔ เนื่องจากเนื้องอกได้โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการโภชนาการไม่เพียงพอ อาการซูบผอมและน้ำเป็นพิษ
๕ เนื้องอกรังไข่มักจะไม่เกิดอาการปวดเจ็บ หากมีเนื้องอกลาม แตกแยก เลือดออกหรือติดเชื้อ และกดระงับถึงอวัยวะที่อยู่ใกล้ จึงมีอาการปวดท้อง และเอว
๖ ถ้าหากว่ารังไข่สองข้างถูกเนื้อเยื่อมะเร็งทำลาย มักจะทำให้เกิดอาการประจําเดือนผิดปกติ และหมดประจำเดือน กรณีที่การกระจายไปยังปอด มักเกิดอาการไอ ไอเป็นเลือด น้ำในอก กรณีที่การกระจายไปยังกระดูก มักเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง กรณีที่การกระจายไปยังช่องลำไส้ อาจเกิดอาการการถ่ายเป็นเลือด หรือลำไส้อุดตัน
๗ หากเป็นเนื้องอกที่เกิดเพราะระบบการทำงาน จะทำให้เอสโตรเจนหรือแอนโดรเจนเพิ่มมากขึ้น และเกิดอาการต่างๆ เช่น ช่องคลอดเลือดออกแบบระบบการทำงานผิดปกติ เลือดออกหลังหมดประจำเดือนหรือเพศหญิงมีลักษณะท่าทางเพศชาย สำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะสุดท้าย มีอาการซูบผอม โลหิจจางอย่างร้ายแรงเป็นต้น ในการตรวจ มักจะพบก้อนเนื้อที่แข็งตัวอยู่หลังผนังช่องคลอด ก้อนเนื้อมีลักษณะเกิดทั้งสองด้าน มีผิวหนังไม่เรียบ ไม่สามารถเคลื่อนที่ และมีท้องมานเลือดอยู่เสมอ บางครั้งยังสามารถค้นพบต่อมน้ำเหลืองที่บวมบนกระดูกไหปลาร้า ใต้รักแร้ และขาหนีบ
ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น